ไนโตรเจน กับ อุตสาหกรรมยา
ไนโตรเจน ( Nitrogen Gas ) กับยาและเครื่องสำอาง
ยา หรือ เภสัชภัณฑ์ วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค หรือความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งมีทั้งแบบกิน ทา ฉีด หรืออม เพื่อให้สารออกฤทธิ์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตตลอดจนการเก็บรักษาจำเป็นต้องคงสภาพของยาหรือเภสัชภัณฑ์ไว้เสมอ เพราะอาจเสื่อมสภาพได้หากได้รับปัจจัยต่างๆ
โดยการเสื่อมสภาพแบ่งเป็น
1.การเสื่อมสภาพทางเคมี ทำให้ปริมาณตัวยาสำคัญลดลง และการเพิ่มขึ้นของสารสลายตัว
2.การเสื่อมสภาพทางกายภาพ ทำให้เกิดความผิดปกติของรูปร่าง สี กลิ่น รสชาติ ความใสหรือขุ่น หรือการเกิดตะกอน
3.การเสื่อมสภาพทางชีวภาพ ทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อเกินระดับปลอดภัย
โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสื่อมสภาพของยาหรือเภสัชภัณฑ์ส่วนมากจะมาจากสิ่งแวดล้อมเช่น อุณหภูมิ แสง แก๊สออกซิเจน แก๊สคาร์บอนไดออกไซค์ ความชื้น เป็นต้น ซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงการเสื่อมสภาพของยาได้โดยการเก็บรักษาอย่างถูกวิธีตามฉลากที่ระบุไว้ข้างบรรจุภัณฑ์ของยานั้นๆ
การสังเกตุว่ายาเสื่อมสภาพหรือไม่สามารถสังเกตุได้ง่ายๆ ดังนี้
-สังเกตุจากวันหมดอายุที่ระบุอยู่บนบรรจุภัณฑ์
-สังเกตุจากสีของยา ลักษณะของเม็ดยามีสีไม่สม่ำเสมอ เม็ดยาแตกหรือบวม เป็นต้น
-สังเกตุจากกลิ่นที่แปลกไปจากเดิม หรือ มีกลิ่นเหม็นผิดปรกติ
-สังเกตุจากการจับตัวกันเป็นก้อนของยา
การเก็บรักษายาโดยทั่วไป คือ
-เก็บในภาชนะที่แห้งปิดสนิท ในห้องที่มีการถ่ายเทอากาศได้สะดวก
-เก็บในที่มืด ควรเก็บยาในตู้ทึบ หรือเก็บในภาชนะทึบแสง
-เก็บในที่เย็น หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีอากาศร้อน
แต่ก่อนที่ยา หรือ เภสัชภัณฑ์ จะถึงมือผู้บริโภคนั้น ผู้ผลิตก็ต้องมีกระบวนการในการคงสภาพของยาหรือเภสัชภัณฑ์เช่นเดียวกัน หนึ่งในขั้นตอนสำหรับการคงสภาพยาหรือเภสัชภัณฑ์คือการใช้แก๊สไนโตรเจนในการเก็บรักษาสำหรับยาที่ทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจนได้ง่าย
เช่น catecholamines (dopamine), morphine, vitamin A, unsaturated free fatty acid, pyrantel, pyrimidine เป็นต้น ในกระบวนการผลิตเมื่อยานั้นๆ ผลิตเรียบร้อยแล้วจะต้องถูกเก็บภายใต้แก๊สไนโตรเจนที่ปราศจากแก๊สออกซิเจน เพื่อให้ยาไม่เสื่อมสภาพ และจำหน่ายถึงมือผู้บริโภคได้อย่างปลอดภัย
สำหรับแก๊สไนโตรเจนที่ใช้ในการเก็บรักษายาจำเป็นจะต้องมีความบริสุทธิ์สูง มีปริมาณแก๊สออกซิเจนปนเปื้อนน้อยที่สุด ตาม European Pharmacopoeia การวิเคราะห์ Nitrogen, Low-oxygen
– กระบวนการในการเก็บรักษาและบรรจุนี้ยังสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรมมเครื่องสำอางได้อีกด้วย
ไนโตรเจน กับ อุตสาหกรรมยา
ไนโตรเจน กับ อุตสาหกรรมยา
ที่มาข้อมูล :: มหาลัยมหิดลคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ไนโตรเจน กับ อุตสาหกรรมยา
ไนโตรเจน ( Nitrogen Gas ) กับยาและเครื่องสำอาง
ยา หรือ เภสัชภัณฑ์ วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค หรือความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งมีทั้งแบบกิน ทา ฉีด หรืออม เพื่อให้สารออกฤทธิ์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตตลอดจนการเก็บรักษาจำเป็นต้องคงสภาพของยาหรือเภสัชภัณฑ์ไว้เสมอ เพราะอาจเสื่อมสภาพได้หากได้รับปัจจัยต่างๆ โดยการเสื่อมสภาพแบ่งเป็น
1.การเสื่อมสภาพทางเคมี ทำให้ปริมาณตัวยาสำคัญลดลง และการเพิ่มขึ้นของสารสลายตัว
2.การเสื่อมสภาพทางกายภาพ ทำให้เกิดความผิดปกติของรูปร่าง สี กลิ่น รสชาติ ความใสหรือขุ่น หรือการเกิดตะกอน
3.การเสื่อมสภาพทางชีวภาพ ทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อเกินระดับปลอดภัย
โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสื่อมสภาพของยาหรือเภสัชภัณฑ์ส่วนมากจะมาจากสิ่งแวดล้อมเช่น อุณหภูมิ แสง แก๊สออกซิเจน แก๊สคาร์บอนไดออกไซค์ ความชื้น เป็นต้น ซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงการเสื่อมสภาพของยาได้โดยการเก็บรักษาอย่างถูกวิธีตามฉลากที่ระบุไว้ข้างบรรจุภัณฑ์ของยานั้นๆ
การสังเกตุว่ายาเสื่อมสภาพหรือไม่สามารถสังเกตุได้ง่ายๆ ดังนี้
-สังเกตุจากวันหมดอายุที่ระบุอยู่บนบรรจุภัณฑ์
-สังเกตุจากสีของยา ลักษณะของเม็ดยามีสีไม่สม่ำเสมอ เม็ดยาแตกหรือบวม เป็นต้น
-สังเกตุจากกลิ่นที่แปลกไปจากเดิม หรือ มีกลิ่นเหม็นผิดปรกติ
-สังเกตุจากการจับตัวกันเป็นก้อนของยา
การเก็บรักษายาโดยทั่วไป คือ
-เก็บในภาชนะที่แห้งปิดสนิท ในห้องที่มีการถ่ายเทอากาศได้สะดวก
-เก็บในที่มืด ควรเก็บยาในตู้ทึบ หรือเก็บในภาชนะทึบแสง
-เก็บในที่เย็น หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีอากาศร้อน
แต่ก่อนที่ยา หรือ เภสัชภัณฑ์ จะถึงมือผู้บริโภคนั้น ผู้ผลิตก็ต้องมีกระบวนการในการคงสภาพของยาหรือเภสัชภัณฑ์เช่นเดียวกัน หนึ่งในขั้นตอนสำหรับการคงสภาพยาหรือเภสัชภัณฑ์คือการใช้แก๊สไนโตรเจนในการเก็บรักษาสำหรับยาที่ทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจนได้ง่าย
เช่น catecholamines (dopamine), morphine, vitamin A, unsaturated free fatty acid, pyrantel, pyrimidine เป็นต้น ในกระบวนการผลิตเมื่อยานั้นๆ ผลิตเรียบร้อยแล้วจะต้องถูกเก็บภายใต้แก๊สไนโตรเจนที่ปราศจากแก๊สออกซิเจน เพื่อให้ยาไม่เสื่อมสภาพ และจำหน่ายถึงมือผู้บริโภคได้อย่างปลอดภัย
สำหรับแก๊สไนโตรเจนที่ใช้ในการเก็บรักษายาจำเป็นจะต้องมีความบริสุทธิ์สูง มีปริมาณแก๊สออกซิเจนปนเปื้อนน้อยที่สุด ตาม European Pharmacopoeia การวิเคราะห์ Nitrogen, Low-oxygen
-กระบวนการในการเก็บรักษาและบรรจุนี้ยังสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรมมเครื่องสำอางได้อีกด้วย
ไนโตรเจน กับ อุตสาหกรรมยา
ไนโตรเจน กับ อุตสาหกรรมยา